Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดสมุทรปราการ

รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดสมุทรปราการ ไตรมาส 4 ปี 2552 (ตุลาคม – ธันวาคม 2552)

pll_content_description

บทสรุปสำหรับผู้บริหาร

 

 สภาพเศรษฐกิจ

        จากรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ปี 2550 ของสำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งหมดของจังหวัดสมุทรปราการ คือ 614,125 ล้านบาท ประเภทของมีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่
      1.  สาขาอุตสาหกรรม(การผลิต) จำนวน 411,867 ล้านบาท (ร้อยละ 67.07 ของ GPP) 
      2.  สาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า คมนาคม จำนวน 112,850 ล้านบาท (ร้อยละ 18.38 ของGPP)
      3.  สาขาค้าปลีก ค้าส่ง ซ่อมแซมยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล จำนวน 24,779 ล้านบาท (ร้อยละ 4.03 ของGPP) 
           ปรากฏว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดเฉลี่ยต่อคน อยู่ที่ 483,509 บาทต่อปี
ในไตรมาสที่ 4/2552 มีทุนจดทะเบียนตั้งใหม่ มีจำนวน 677 ราย เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันของปีก่อนคิดเป็นร้อยละ 91.24 และเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนคิดเป็นร้อยละ 13.97 แบ่ง เป็นบริษัทจำกัด 479 ราย และห้างหุ้นส่วนจำกัด 198 ราย โดยมีเงินทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 1,319.89 ล้านบาท อำเภอที่มีทุนจดทะเบียนสูงสุด คือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ คิดเป็นร้อยละ 38.8 รองลงมาเป็นอำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง คิดเป็นร้อยละ 35.16 และ 7.53  ตามลำดับ
                
           ไตรมาสที่ 4/2552 (ตุลาคม – ธันวาคม) จังหวัดสมุทรปราการมีประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้นจำนวน 1,020,201 คนในจำนวนนนี้ เป็นผู้อยู่ในกำลังแรงงาน 762,737 คน ผู้มีงานทำ 748,522 คน ผู้ว่างงาน 13,087 คน และมีผู้ไม่อยู่ในกำลังแรงงาน 257,464 คน (ทำงานบ้าน เรียนหนังสือ และอื่นๆ)
 
การมีงานทำ


        ในไตรมาสนี้ ผู้มีงานทำในจังหวัดสมุทรปราการ ทำงานในภาคเกษตร จำนวน 17,750 คน หรือร้อยละ 2.4  และผู้มีงานทำ ทำงานนอกภาคเกษตร จำนวน 730,772 คน หรือร้อยละ 97.6 โดยทำงานในสาขาการผลิตมากที่สุด จำนวน 320,776 คน หรือร้อยละ 42.9 รองลงมาคือ การขายส่ง ขายปลีก ซ่อมแซมยานยนต์ รถจักรยานยนต์ จำนวน 136,962 คนหรือร้อยละ 18.3
 
        ไตรมาสที่ 4/2552 มีนายจ้าง/สถานประกอบการแจ้งตำแหน่งงานว่าง รวม 5,086 อัตรา มีผู้ลงทะเบียนสมัครงาน 6,544 คน และมีการบรรจุงาน 2,540 คน
ตำแหน่งงานว่างที่ต้องการสูงสุดในไตรมาสนี้ แยกตามระดับการศึกษา คือระดับมัธยมศึกษา จำนวน 2,327 อัตรา คิดเป็นร้อยละ  45.75 รองลงมา คือ ระดับปวช. จำนวน 954 อัตรา หรือร้อยละ 18.76และประเภทอุตสาหกรรมที่มีตำแหน่งงานว่างมากที่สุด คือ สาขาอุตสาหกรรม (การผลิต) จำนวน 3,822 อัตรา หรือร้อยละ 75.13
รองลงมา คือสาขาการค้าปลีก ค้าส่ง ซ่อมแซมยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล จำนวน 1,037 อัตรา หรือร้อยละ 20.39 อาชีพที่มีการบรรจุงานมากที่สุด คือ อาชีพงานพื้นฐานต่างๆ จำนวน 3,130 คน (ร้อยละ 61.53) รองลงมาคือ อาชีพเสมียน เจ้าหน้าที่ จำนวน 448 คน (ร้อยละ 8.81) ช่วงอายุที่มีความต้องการด้านแรงงานมากที่สุด คือช่วงอายุ 18-24 ปี จำนวน 1,647 อัตรา (ร้อยละ 32.38) ซึ่งเป็นช่วงอายุที่มีการสมัครงานและได้รับการบรรจุงานมากที่สุดเช่นกัน ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 มีแรงงานไทยในจังหวัดที่ได้รับอนุมัติเดินทางไปทำงานต่างประเทศ จำนวน 334 คน โดยการลงทะเบียนคนหางาน 99 คน (ร้อยละ 29.64) วิธี Re-Entry Visa จำนวน 118 คน (ร้อยละ 35.33) คนงานแจ้งการเดินทางด้วยตัวเอง  จำนวน 9 คน (ร้อยละ 2.69) นายจ้างพาลูกจ้างไปทำงานต่างประเทศ  จำนวน 64 คน (ร้อยละ 19.16) และแจ้งการเดินทางด้วยตนเอง  จำนวน 44  คน (ร้อยละ 13.17)
 
การคุ้มครองแรงงาน

 

        ไตรมาสที่ 4/2552 มีการฝึกเสริมทักษะเพื่อการส่งเสริมมีงานทำ จำนวน 5 กลุ่มอาชีพ คือ กลุ่มธุรกิจและบริการ จำนวนผู้เข้ารับการฝึก 0 คน กลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้าและอิเลคโทรนิคส์ จำนวนผู้เข้ารับการฝึก 0  คน กลุ่มช่างอุตสาหกรรมศิลป์ จำนวนผู้เข้ารับการฝึก 14 กลุ่มช่างเครื่องกล  จำนวนผู้เข้ารับการฝึก 7 คน กลุ่มช่างก่อสร้าง จำนวนผู้เข้ารับการฝึก 0 คน คน และผู้ผ่านการฝึก ยังรอผลผู้ผ่านการฝึก
        การฝึกยกระดับฝีมือแรงงานในไตรมาสนี้มีจำนวน 1,341 คน โดยกลุ่มอาชีพช่างไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ มีผู้เข้ารับการฝึกมากที่สุด จำนวน 437 คน คิดเป็นร้อยละ 32.59 รองลงมาคือ กลุ่มช่างอุตสาหการ  239 คน ร้อยละ 17.82  ช่างก่อสร้าง จำนวน 235 คน หรือร้อยละ 17.52และมีผู้ผ่านการฝึก จำนวน 987 คน คิดเป็น 73.60 ของผู้เข้ารับการฝึกทั้งหมด
 
        การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานในไตรมาสนี้ จำนวน 719คน จำแนกตามกลุ่มอาชีพ พบว่า กลุ่มอาชีพศูนย์ฝึกอบรมงานช่างเชื่อมมาตรฐานสากล มีจำนวนผู้เข้ารับการฝึกมากที่สุด จำนวน 247 คน คิดเป็นร้อยละ 34.35 รองลงมาคืออาชีพช่างไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์ จำนวน 232 คน ร้อยละ 32.27  มีผู้ผ่านการทดสอบทั้งสิ้น 267 คน คิดเป็นร้อยละ 37.13  ของผู้เข้ารับการฝึกทั้งหมด
 
         จากการตรวจสถานประกอบการ ทั้งสิ้น  แห่ง(40 ครั้ง) มีลูกจ้างผ่านการตรวจจำนวน 7,168 คน และสถานประกอบการที่ผ่านการตรวจส่วนมากเป็นสถานประกอบการขนาด 100-299 คน จำนวน 16 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 40.00 มีสถานประกอบการปฏิบัติถูกต้องตามกฏหมาย จำนวน 6 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15.00 ปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฏหมาย จำนวน 34 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 85.00 สำหรับสถานประกอบการขนาด 100-299 คน ที่มีสัดส่วนการปฏิบัติไม่ถูกต้องตามกฏหมายมากที่สุด ร้อยละ 50.00  มีการตรวจแรงงานในสถาน ประกอบการจำนวน 828 แห่ง (848 ครั้ง) ที่ผ่านการตรวจ มีลูกจ้างที่ผ่านการตรวจ 39,224 คน

 

การประกันสังคม

         ในช่วงไตรมาสที่ 4 ปี 2552 จังหวัดสมุทรปราการมีการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานจำนวน 6,699 คน โดยประเภทของความร้ายแรงพบว่าส่วนใหญ่จะหยุดงานไม่เกิน 3 วัน จำนวน 4,715 คน หรือร้อยละ 70.38 และหยุดงานเกิน 3 วัน  จำนวน 1,975 คน หรือร้อยละ 29.48    ข้อมูล ณ เดือน ธันวาคม 2552 พบว่าจังหวัดสมุทรปราการมีสถานประกอบการที่ขึ้นทะเบียนประกันสังคม จำนวน 19,272 แห่ง ผู้ประกันตน ทั้งสิ้น 648,420 คน ( มาตรา 33 )

 

 

สภาพเศรษฐกิจจังหวัดสมุทรปราการ

 

          พื้นที่และอาณาเขต

          จังหวัดสมุทรปราการ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาและเหนืออ่าวไทยมีเนื้อที่ประมาณ 1,004.092 ตารางกิโลเมตร  หรือประมาณ  627,577  ไร่  ตั้งอยู่ภาคกลางของประเทศไทย  ห่างจากกรุงเทพฯ  ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ  29  กิโลเมตร  มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้  
               ทิศเหนือ  ติดต่อกับ   กรุงเทพมหานคร (เขตลาดกระบังและ พระโขนง)
               ทิศใต้   ติดต่อกับ   อ่าวไทย
               ทิศตะวันออก        ติดต่อกับ   จังหวัดฉะเชิงเทรา
               ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  กรุงเทพมหานคร  (เขตบางขุนเทียน)
 


           การปกครอง       
           จังหวัดสมุทรปราการ  แบ่งออกเป็น 6  อำเภอ   50 ตำบล    399 หมู่บ้าน  โดยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นประกอบ ด้วยองค์การบริหารส่วนจังหวัด   1 แห่ง   เทศบาล   จำนวน  16 แห่ง  (1 เทศบาลนคร 2 เทศบาลเมืองและ 13 เทศบาลตำบล)  และองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน  32  แห่ง


           ประชากร  
           ประชากรไตรมาสที่ 4 (ตุลาคม – ธันวาคม) ปี 2552 มีจำนวนประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปทั้งสิ้น 1,020,201  คน แยกเป็นชาย 472,636  คน   หญิงจำนวน 547,565   คน


           ลักษณะภูมิประเทศ 
           ลักษณะภูมิประเทศ  ส่วนใหญ่พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำเจ้าพระยาไหลผ่านกลางแยกพื้นที่ออกเป็นด้านตะวันตกและด้านตะวันออก   และมีลำคลองหลายสาย ซึ่งมีความสำคัญในด้านการชลประทานเพื่อการเกษตร  และเป็นเส้นทางคมนาคมขนส่งทางน้ำด้วย โดยทั่วไปแล้วลักษณะภูมิประเทศ ของจังหวัดสามารถแบ่งพื้นที่ออกได้เป็น 3 ส่วน คือ
บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยาทั้งสองฝั่งซึ่ง เป็นที่ราบลุ่มทั้งหมดเหมาะสำหรับการทำนาและสวนบริเวณตอนใต้ใกล้ชายฝั่งทะเล น้ำทะเลท่วมถึง และพื้นที่ดินจะเค็มจัดในฤดูแล้ง  โดยมากจะเป็นที่ราบลุ่ม  เหมาะแก่การทำป่าจากและป่าฟืน บริเวณที่ราบกว้างใหญ่ทางตอนเหนือและตะวันออก  ซึ่งจะเป็นที่ราบลุ่มติดต่อกันตลอด มีคลองชลประทานหลายแห่ง  เหมาะแก่การทำนา


           สภาพทางเศรษฐกิจ
           สมุทรปราการ เป็นจังหวัดที่มีความได้เปรียบทางด้านภูมิศาสตร์ที่ตั้งอยู่ใกล้ศูนย์กลางของประเทศ และยังเป็นแหล่งวัตถุดิบที่นำเข้าจากต่างประเทศ เป็นคลังสินค้าที่สำคัญนอกจากนี้ยังเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ ทำให้การขนส่งวัตถุดิบ และสินค้าจากโรงงานอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก โดยจังหวัดสมุทรปราการในปัจจุบันนับได้ว่าเป็นจังหวัดที่มีโรงงานอุตสาหกรรมมากที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นลำดับ 2  รองจากกรุงเทพมหานคร จากข้อมูลประมาณการของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดสมุทรปราการปี 2550 มีมูลค่ารวม 614,125 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลมาจากการผลิตด้านอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิต คิดเป็นอันดับ 1 ของจังหวัดมีสัดส่วนร้อยละ 67.07 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP)  รองลงมาคือสาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า คมนาคม ร้อยละ 18.38 และสาขาค้าปลีก ค้าส่ง ซ่อมแซมยานยนต์ ของใช้ส่วนบุคคล ร้อยละ 4.03    ส่วนสาขาการไฟฟ้า ประปา และก๊าซมีสัดส่วนเพียงร้อยละ  2.11 ส่วนสาขาก่อสร้างมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 1.66 สาขาการโรงแรม ภัตตาคารมีสัดส่วน ร้อยละ 1.42   
 
          โครงสร้างทางเศรษฐกิจจังหวัดสมุทรปราการ (ปี 2550) ผลิตภัณฑ์มวลรวมที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมสูงสุดคือสาขาการอุตสาหกรรมเป็นสาขาการอุตสาหกรรม(ผลิต)มีจำนวน 411,867 ล้านบาท มีสัดส่วนร้อยละ 67.07 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด(GPP)  รองลงมาคือสาขาการขนส่ง สถานที่เก็บสินค้า คมนาคม มีจำนวน 112,850 ล้านบาทมีสัดส่วนร้อยละ 18.38 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) 
 

 

TOP